information ห้ามเผา!! ทุกชนิด (ตั้งแต่ 1 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2568) ฝ่าฝืน!! มีโทษตามกฎหมาย ไม่ขออนุญาต!! ห้ามเผาเด็ดขาด                               ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรวงทอง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ www.trtsao.go.th                               องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ยินดีรับใช้ประชาชน ด้วยความจริงใจ และ ความซื่อสัตย์
ข้อมูล อบต.
นายนิเวช แก้วคำเลิศ - นายกองค์การบริหารส่วนตำบล<br>ทุ่งรวงทอง<br>มือถือ. 081-9616287<br>โทร. 053-024198-9 ต่อ 19<br>

นายนิเวช แก้วคำเลิศ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ทุ่งรวงทอง
มือถือ. 081-9616287
โทร. 053-024198-9 ต่อ 19

สายตรงนายก

informationข่าวประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์ " โรคพิษสุนัขบ้า "

  • 18 พฤษภาคม 2566
  • 39 ครั้ง

ประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรวงทอง

โรคพิษสุนัขบ้า เมื่อติดเชื้อและแสดงอาการแล้ว รักษาไม่หาย จะเสียชีวิตทุกราย ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ เกิดจากการถูกสุนัขหรือแมวกัด-ข่วน แล้วไม่ได้รักษา หรือเข้ารับฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้อง การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.ก่อนถูกกัด ใช้หลักการคาถา 5 ย. ป้องกันการถูกกัด ได้แก่?อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง? คือ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัขหรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ
2.กรณีถูกกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน และรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างเหมาะสม รวมถึงกักขังสัตว์ที่กัดสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน หากสัตว์ตัวนั้นมีอาการปกติแสดงว่าอาจไม่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากสุนัขหรือแมวเสียชีวิต ให้รีบแจ้งผู้นำชุมชนที่อยู่ใกล้ที่สุด และแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อส่งหัวสัตว์ที่สงสัยตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ
3.หลังจากถูกกัด ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องครบชุดตามเวลาที่แพทย์นัด

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากรับเชื้อและเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันที่แผล ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย ไม่ชอบเสียงดัง กลัวน้ำ กลืนลำบาก และกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรนำสัตว์เลี้ยงของตนเองไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2-3 เดือนขึ้นไป 2 เข็ม และฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีๆละ 1 เข็ม และหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชนทันที

ข้อมูล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อน: